วันอาทิตย์

๑.๓ อุปปีฬกกรรม

อุปปีฬกกรรม หมายถึง กรรมที่ทำหน้าที่เข้าไปเบียดเบียนกรรมอื่นๆ 

เป็นกรรมที่เบียดเบียนกรรม อื่นๆและการสืบต่อของขันธ์ ๕ ที่เกิดจากกรรมอื่นๆ องค์ธรรมได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ และมหากุศลกรรม ๘ กรรมที่ชื่อว่า อุปปีฬกกรรม เพราะมีความหมายว่า เข้าไปเบียดเบียนฉะนั้น อุปปีฬกกรรมจึงมีความหมายตรงกันข้ามกับอุปัตถัมภกกรรมนั้นเอง การเบียดเบียนเป็นการขัดขวางวิบากที่ชนกกรรมทำให้ เกิดขึ้นหลังจากสัตว์นั้นเกิดแล้ว ฉะนั้น สุขทุกข์อันเนื่องมาจากวิบากนั้นจึงลดลงหรือหมดไป

การเบียดเบียนของอุปปีฬกกรรม แบ่งออกได้ ๓ คือ 

๑. เบียดเบียนชนกกรรมอื่นๆ เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล มี ๒ คือ
๑.๑ กุศลที่ทำในภพนี้ เบียดเบียนอกุศลชนกกรรมเพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล
ตัวอย่างเช่น ในชาตินี้บางบุคคลเป็นผู้ที่ทำแต่กุศลกรรมความดี เมื่อเกิดทุกข์ภัยพิบัติต่างๆ ในแวด วงเดียวกันต่างก็ได้รับทุกข์ภัย แต่เขาไม่ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนเช่นนั้นเลย ทั้งนี้ก็อาจเป็น เพราะว่ากุศลในภพนี้ไปเบียดเบียนอกุศลชนกกรรมนั้นๆไว้ไม่ให้มีโอกาสส่งผล
๑. ๒ อกุศลที่ทำในภพนี้ เบียดเบียนกุศลชนกกรรมเพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล
ตัวอย่างเช่น ในชาตินี้บางบุคคลทำอกุศลกรรมไว้ ถึงแม้กุศลที่เคยทำไว้ก็มี แต่กุศลก็ไม่อาจส่งผล ได้ อาจเป็นเพราะอกุศลที่ทำในภพนี้ปิดกั้นเบียดเบียนกุศลชนกกรรมนั้นๆไว้ไม่ให้มีโอกาสส่งผล
๒. เบียดเบียนชนกกรรมอื่นๆ ที่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้ว ให้มีกำลังลดน้อยลง มี ๒ คือ
๒.๑ กุศลที่ทำในปัจจุบันภพ เบียดเบียนอกุศลชนกกรรมที่กำลังมีโอกาสส่งผลอยู่ ให้มีกำลังลดน้อยลง
ตัวอย่างเช่น พระเจ้าอชาตศัตรูกระทำปิตุฆาตกรรมจะต้องตกอเวจีมหานรก แต่พระเจ้าอชาตศัตรู ได้สร้างกุศลไว้มาก คือ เป็นผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาในการทำปฐมสังคายนา และในบรรดา ปุถุชนทั้งหลายนั้นพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นผู้เลื่อมใสนับถือพระพุทธเจ้ามากที่สุด ด้วยอำนาจของกุศล เหล่านี้ จึงช่วยพระเจ้าอชาตศัตรูไม่ให้ไปตกในอเวจีมหานรกซึ่งเป็นนรกขุมใหญ่ แต่ไปตกในโลห-กุมภีอุสสทนรก ซึ่งเป็นนรกขุมเล็กที่เป็นบริวารของอเวจีมหานรก
๒.๒ อกุศลที่ทำในปัจจุบันภพ เบียดเบียนกุศลชนกกรรมที่กำลังมีโอกาสส่งผลอยู่ ให้มีกำลังลดน้อยลง 
ตัวอย่างเช่น บุคคลสร้างบุญกุศลสำเร็จแล้ว เดิมเจตนานั้นดีมาก ไม่มีความโลภ ความโกรธ ความ หลง มาแวดล้อมในการทำกุศล แต่เมื่อทำกุศลสำเร็จไปแล้ว มานึกเสียดายทรัพย์ที่ทำไป นึกถึงกุศล นั้นแล้วเกิดความไม่สบายใจ กลายเป็นอกุศลเกิดขึ้น หลังจากทำกุศลแล้ว เจตนาที่เป็นอกุศล ใน คราวหลังนี้เป็นผลทำให้กุศลนั้นมีกำลังอ่อน เพราะอกุศลที่เกิดขึ้นภายหลัง ไปเบียดเบียนกุศลที่ทำอยู่แล้วที่ควรจะได้ผลโดยสมบูรณ์ ก็ได้ผลไม่สมบูรณ์ เพราะเจตนานั้นไม่สมบูรณ์ การทำกุศลต้องประกอบด้วยเจตนาทั้ง ๓ กาล คือ ก่อนทำ ขณะทำ และหลังจากทำแล้ว ต้องไม่ถูกแวดล้อมด้วยอกุศลไม่มีอกุศลเข้ามาเจือปน

๓. เบียดเบียนรูปนามที่เกิดจากชนกกรรมนั้นๆ มี ๒ ประการ คือ
๓.๑ อกุศลอุปปีฬกกรรม เบียดเบียนรูปนามที่เกิดจากกุศลชนกกรรม
ตัวอย่างเช่น บุคคลเกิดมามีร่างกายแข็งแรง ต่อมาอ่อนแอ มีโรคภัยเบียดเบียน เป็นเบาหวานต้องถูกตัดขา เป็นอัมพาต เป็นมะเร็ง ถ้าถามว่า ทำไมจึงอ่อนแอลง ? ตอบได้ว่า อาจเป็นเพราะด้วยอำนาจของอกุศลอุปปีฬกกรรมมาเบียดเบียนรูปนามที่เกิดจากกุศลชนกกรรมให้อ่อนกำลังลง
๓.๒ กุศลอุปปีฬกกรรม เบียดเบียนรูปนามที่เกิดจากอกุศลกรรม 
รูปนามที่เกิดจากอกุศลกรรมนั้นเป็นรูปนามของบุคคลในอบายภูมิทั้ง ๔ คือ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน ตัวอย่างเช่น สุนัข นก ปลา ช้าง ถึงแม้นจะมีสีสวยงาม น่ารัก แข็งแรง อย่างไรก็ตาม รูปนามนั้นก็เกิดมาจากอกุศลกรรม สัตว์บางตัวเกิดมาแล้วก็ได้รับทุกข์ต่างๆนาๆ ซึ่ง ก็เป็นผลของอกุศลกรรมตามมาส่งผลเบียดเบียนรูปนามนี้ให้ได้รับทุกข์ ต่อมาอาจจะเจอคนที่มีเมตตาให้การเลี้ยงดู ทำให้ได้รับความสุขสบายในภายหลัง ถ้าถามว่าทำไมจึงดีขึ้น ? ตอบได้ว่า อาจเป็นเพราะกุศลมาเบียดเบียนนามรูปที่เกิดจากอกุศลนี้ เมื่ออกุศลอ่อนกำลังลง กุศลได้โอกาส เบียดเบียนอกุศลแล้วก็ทำให้ดีขึ้น เจริญขึ้นได้ 



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น