วันศุกร์

๗. อัปปมัญญา ๔

 อัปปมัญญา ๔

🔔ประกอบด้วย ๑. เมตตา,  ๒. กรุณา,  ๓. มุทิตา,  ๔. อุเบกขา

อัปปมัญญา หมายความว่า ธรรมชาติที่เป็นไปในสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ไม่จำกัด ผู้ที่
เจริญอัปปมัญญา ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่นั้น จะต้องมีการแผ่ตลอดทั่วไปในสัตว์ทั้งหลายโดยไม่มีจำกัดจึงจะเรียกว่า เป็นการแผ่เมตตาอัปปมัญญา กรุณาอัปปมัญญา มุทิตาอัปปมัญญา อุเบกขาอัปปมัญญา สำหรับการแผ่โดยเฉพาะเจาะจง ไม่จัดว่าเป็นการเจริญอัปปมัญญากรรมฐาน ฉะนั้นเมื่อจะเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ชนิดที่เป็นอัปปมัญญาได้นั้น ต้องเป็นชนิดทำลายขอบเขตไม่ให้มีจำกัดอยู่เฉพาะแต่ในบุคคลประเภทใดประเภทหนึ่ง

อัปปมัญญา ก็ได้ชื่อว่าพรหมวิหารด้วย เพราะว่าผู้ที่ปฏิบัติในอัปปมัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง บุคคลนั้นย่อมมีจิตเสมือนพรหม คือมีความดีในเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ได้อย่างไม่มีประมาณ



๑. เมตตาภาวนา 
เมตตา หมายความว่า การปรารถนาดีรักใคร่ต่อสัตว์ทั้งหลาย องค์ธรรมได้แก่ อโทสเจตสิก ที่มี
ปิยมนาปสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์ หมายถึงมีสัตว์บุคคลอันเป็นที่รักเป็นอารมณ์ สัตว์บุคคลอันเป็นที่รักที่ชอบใจ มี ๒ พวก คือ
    ๑. พวกธรรมดา เช่น พ่อ แม่ พี่น้อง เป็นต้น
    ๒. พวกที่เป็นไปด้วยอำนาจภาวนาสมาธิ

การเจริญเมตตาในระยะต้นๆ จะมีเฉพาะในพวกธรรมดาเป็นอารมณ์ของเมตตาภาวนาก็จริง ครั้นการเจริญนั้นได้เข้าถึงขั้นอุปจารภาวนาแล้ว จิตใจในขณะนั้นก็จะแผ่ทั่วไปแก่สัตว์ทั้งหลายได้หมด แม้แต่ผู้ที่เป็นศัตรูก็สามารถแผ่จนกลายเป็นบุคคลที่เรารักได้ จิตใจในขณะนั้นปราศจากอโทสะโดยสิ้นเชิง ไม่ได้แกล้งหรือฝืนใจคิดที่จะรักใคร่ปรารถนาดีต่อศัตรู แต่อโทสเจตสิกที่เกิดขึ้นในขณะสวดมนต์ ไหว้พระ เป็นต้น ไม่ได้มีอารมณ์เป็นปิยมนาปสัตวบัญญัติ ดังนั้น อโทสเจตสิกขณะนั้นจึงไม่เรียกว่า เมตตา

การนึกถึงหรือมองดูคนอื่นด้วยโทสะ ความโกรธ ความขัดเคือง ความอิจฉา ริษยา ในขณะนั้นย่อมมีแต่ความเกลียดชัง จิตใจไม่ชื่นบาน ส่วนการนึกถึงหรือมองดูบุคคลอื่นด้วยเมตตานั้น จิตใจก็จะมีแต่ความรักใคร่เบิกบาน ความรักใคร่มี ๒ ประการ คือ
    ๑. เมตตาอโทสะ
    ๒. ตัณหาเปมะ

เมตตาอโทสะ เป็นความรักใคร่ชื่นชมปรารถนาดีชนิดไม่มีการยึดถือว่าเป็น บิดา มารดา บุตร ธิดา ภรรยา สามี ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง แต่อย่างใด ถึงบุคคลเหล่านี้จะจากไปก็ไม่เดือดร้อน ไม่เสียใจ

ตัณหาเปมะ เป็นความรักใคร่ชื่นชมด้วยการยึดถือว่าเป็น บิดา มารดา บุตร ธิดา ภรรยา สามี ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง และแยกจากกันไม่ได้ ถ้าบุคคลเหล่านั้นจากไปก็หวงแหน อยากจะครอบครองรักษาไว้ไม่ให้จากไป ดังนั้นความรักใคร่ชื่นชมชนิดที่เป็นตัณหาเปมะนี้ จึงได้ชื่อว่าเป็นเมตตาเทียม องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก อย่างไรก็ตามตัณหาเปมะอันเป็นเมตตาเทียมนี้ ก็ยังเป็นความดีในการที่เป็นเหตุปัจจัยให้เมตตาอโทสะเกิดขึ้นได้ง่าย และดำรงมั่นไม่เสื่อมคลาย

วิธีการปฏิบัติเมตตาอัปปมัญญา ในเบื้องต้นต้องตัดปลิโพธ คือ เครื่องกังวล ๑๐ ประการ เลือกสิ่งสัปปายะ หลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอสัปปายะ แล้วเริ่มต้นโดยการพิจารณาโทษของความโกรธและอานิสงส์ของความอดกลั้นต่อความโกรธก่อนเป็นลำดับแรก

. พิจารณาโทษของความโกรธ และอานิสงส์ของความอดกลั้นต่อความโกรธ
    ๑.๑ เหตุใดจึงต้องพิจารณาโทษของความโกรธเพราะการเจริญเมตตาอัปปมัญญานี้ มีความประสงค์เพื่อจะสลัดทิ้งความโกรธและให้บรรลุถึงขันติคุณ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญ ถ้าผู้ตั้งใจปฏิบัติเจริญเมตตาแล้วยังมีความโกรธความขัดเคืองใจ เมตตาจิตก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้
    ๑.๒ แล้วจะพิจารณาโทษของความโกรธได้อย่างไร ? ข้ออุปมาโทษของความโกรธ มีดังนี้
        ๑.๒.๑ เมื่อเราโกรธ ริษยา อาฆาต พยาบาท ตระหนี่ หวงแหน และขัดเคืองใจ เราก็เปรียบเสมือนบุคคลผู้ต้องการอาบน้ำและไปเอาน้ำโสโครกมาชำระกาย ยังแต่จะนำความสกปรกมาสู่ตน
        ๑.๒.๒ เมื่อเราเป็นผู้รักษาศีลแล้วยังแสดงความโกรธให้ประจักษ์แก่สายตาบุคคลอื่น เราก็อาจถูกตำหนิติเตียน อาจไม่ได้รับความเคารพจากบุคคลที่เคยเคารพ เพราะการแสดงออกซึ่งความโกรธนั้น
    ๑.๓ แล้วจะพิจารณาอานิสงส์ของความอดกลั้นต่อความโกรธอย่างไร ? มีข้ออุปมาดังนี้
        ๑.๓.๑ ความอดทนคือพลัง ความอดทนเป็นดุจเกราะ ย่อมคุ้มครองร่างกายได้ดี การกำจัดความโกรธความขัดเคืองจึงได้ชื่อว่าเป็นเกราะเป็นธรรมที่วิญญูชนสรรเสริญ
        ๑.๓.๒ ขันตินี้เป็นธรรมที่พระอรหันต์ทั้งหลายปฏิบัติ เพราะฉะนั้น เราจะไม่ยอมให้ความโกรธเหลืออยู่ในจิตของเรา เราได้ชื่อว่าเป็นสาวก เราจะให้บุคคลอื่นเรียกว่าสาวกตามความเป็นจริง เรามีศรัทธา ขันตินี้เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาในตัวเรา เรามีความรู้ ขันตินี้เป็นพรมแดนแห่งความรู้ในตัวเรา ถ้ามียาพิษ คือ ความโกรธและขัดเคืองใจอยู่ในตัวเรา ขันตินี้ก็เป็นยาแก้พิษที่จะต่อต้านยาพิษในตัวเรา

ความโกรธของแต่ละบุคคลมีมากน้อยต่างกัน บุคคลผู้ผูกโกรธจะเก็บความโกรธไว้นานมากน้อยต่างกัน อุปมา เช่น

ความโกรธของบางบุคคลเหมือนรอยขีดในน้้า คือ โกรธง่ายหายเร็
ความโกรธบางบุคคลเหมือนรอยขีดบนดิน เมื่อลมพัดก็ลบรอยขีดหายไป
ความโกรธบางบุคคลเหมือนรอยขีดบนหินก็ยังคงอยู่ไม่ลบเลือน 

อุบายวิธี ๑๒ อย่างสำหรับกำจัดความโกรธ
๑. แบ่งปันให้ประโยชน์ ให้ทานแก่คนที่ตนโกรธ เกลียด
๒. คิดถึงความดีของเขา
๓. มีความปรารถนาดีต่อเขา
๔. พิจารณาว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
๕. พิจารณาว่าเป็นการใช้หนี้กรรม
๖. พิจารณาโดยความเป็นญาติ
๗. พิจารณาตนเอง
๘. พิจารณาว่าความโกรธเป็นกิเลส
๙. พิจารณาโดยความเป็นธรรมชาติ
๑๐. พิจารณาโดยความดับไปเพียงชั่วขณะของสภาพทั้งหลาย
๑๑. พิจารณาโดยความเป็นขันธ์
๑๒. พิจารณาโดยความเป็นสุญญตา

๑. แบ่งปันให้ประโยชน์ ให้ทานแก่คนที่ตนโกรธ เกลียด แม้จะเกลียดจะโกรธ หากอีกฝ่ายหนึ่งขอก็ควรให้ หรือหากเขาให้เราก็ควรรับไมตรีของเขา ในการพูดก็ควรใช้คำพูดที่ดี เช่นเดียวกับที่พูดกับคนที่ไม่ได้โกรธกัน อย่างนี้ย่อมช่วยดับความโกรธได้
๒. คิดถึงความดีของเขา บุคคลควรมองเห็นความดีของผู้อื่น ทุกบุคคลย่อมมีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย ขอให้คิดถึงส่วนดีของเขา จิตใจเราก็จะไม่เศร้าหมองและสามารถแผ่เมตตาให้กับเขาได้
๓. มีความปรารถนาดีต่อเขา ควรเปลี่ยนความโกรธให้กลับเป็นความปรารถนาดีต่อกัน
๔. พิจารณาว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ถ้าเราโกรธเขาเท่ากับเราทำกรรมชั่ว กรรมชั่วนั้นเราเองจะต้องได้รับผล เช่น ตกนรก หรือชาติหน้าเกิดมาจะมีผิวพรรณทราม เป็นต้น
๕. พิจารณาว่าเป็นการใช้หนี้กรรม ที่เขาโกรธหรือทำไม่ดีต่อเราให้ถือว่าเราเคยทำไม่ดีกับเขามาในอดีต มาถึงเวลานี้ก็ควรชดใช้ให้เขาเสีย
๖. พิจารณาโดยความเป็นญาติสัตว์ทั้งหลายล้วนเป็นญาติกันทั้งสิ้น เพราะสังสารวัฏนี้ยาวนานไม่มีใครไม่เคยเกิดเป็น บิดา มารดา พี่น้อง เพื่อนฝูง หรือเครือญาติกัน การที่เราโกรธผู้อื่นก็เท่ากับเราโกรธญาติของเราเอง
๗. พิจารณาตนเอง หาความผิดของตนเอง ว่าที่เขาโกรธนั้น อาจเป็นความผิดของเราเอง เป็นการพิจารณาหาเหตุก่อน แทนที่จะไปโกรธหรือเพ่งโทษเขา
๘. พิจารณาว่าความโกรธเป็นกิเลส หากเราโกรธเท่ากับปล่อยให้กิเลสครอบงำ
๙. พิจารณาโดยความเป็นธรรมชาติ การประสบสิ่งที่ชอบใจหรือสิ่งที่ไม่ชอบใจ เป็นโลกธรรมเป็นเรื่องธรรมดา ถ้าเราโกรธเท่ากับเราขาดสติ
๑๐. พิจารณาโดยความดับไปเพียงชั่วขณะของสภาพทั้งหลาย จิตของเขาก็เกิดดับอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราโกรธเขา เราโกรธจิตดวงใดของเขา เพราะจิตของเขาที่เราโกรธก็ดับไปแล้ว และเกิดจิตดวงใหม่และดับไปนับไม่ถ้วน เช่นนี้แล้วเราจะโกรธอะไร
๑๑. พิจารณาโดยความเป็นขันธ์ ร่างกายขันธ์ ๕ เป็นที่ตั้งของความทุกข์เราโกรธขันธ์ ๕ ทำไมโกรธส่วนใดของขันธ์ ๕
๑๒. พิจารณาโดยความเป็นสุญญตา เราไม่อาจกล่าวว่าเราโกรธเขา เพราะที่จริงแล้วไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ให้โกรธเลย ไม่มีนาย ก. นาย ข. ทั้งสิ้น

สำหรับบุคคลที่มุ่งให้สำเร็จฌาน จะต้องปฏิบัติไปตามลำดับขั้นตอนจึงจะสามารถสำเร็จได้ แต่ถ้าจะแผ่เมตตาโดยที่ไม่ได้มุ่งหวังสำเร็จฌานใดๆ เป็นการแผ่เมตตาเพื่อฝึกฝนจิตขจัดโทสะที่เกิดขึ้นกับตนเองให้ลดน้อยลง ก็ปฏิบัติแบบไม่ตามขั้นตอนได้ เช่น ไม่ต้องแผ่เมตตาให้ตนเองก่อน แต่ไปแผ่ให้กับศัตรูที่อยู่ตรงหน้าก่อน อย่างนี้ถ้าทำได้ก็จะเป็นการลดทอนความโกรธ ลดความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ข้อห้ามปฏิบัติในการเจริญเมตตาภาวนา สำหรับผู้ที่ต้องการปฏิบัติเพื่อให้ได้ฌาน
๑. ห้ามเจริญเมตตาต่อบุคคล ๔ จำพวก เป็นลำดับแรก คือ
    ๑.๑ คนที่เกลียดชัง เพราะการที่จะเอาคนที่เกลียดชังมาตั้งไว้ในฐานะเป็นคนที่รักนั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ลำบากใจมาก
    ๑.๒ คนที่รักมาก เพราะจะมาตั้งไว้ในฐานะเป็นคนกลางๆ ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เพราะแม้เพียงแต่เขาได้ประสบทุกข์นิดหน่อยก็จะเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติเสียใจได้
    ๑.๓ คนที่เป็นกลางๆ การที่จะนำบุคคลกลางๆ มาตั้งไว้ในฐานะว่าเป็นบุคคลที่รักก็เป็นการทำได้ยาก
    ๑.๔ คนที่เป็นคู่เวร ย่อมมีความโกรธแค้นเกิดขึ้นมา เมตตาก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้

๒. ห้ามเจริญเมตตาเจาะจงในคนต่างเพศ เพราะจะทำให้ราคะคือความกำหนัดยินดีในเพศเกิดขึ้นมาแทนเมตตาภาวนาได้
๓. ห้ามเจริญเมตตาในคนตาย เพราะเมื่อเจริญเมตตาในบุคคลที่ตายไปแล้วย่อมไม่สามารถที่จะบรรลุถึงอุปจารสมาธิได้เลย

วิธีการเจริญเมตตาเพื่อมุ่งให้สำเร็จฌาน ต้องทำตามขั้นตอนดังนี้

๑. แผ่เมตตาภาวนาให้กับตนเองก่อน
การเจริญเมตตา หรือแผ่เมตตานี้ ต้องเริ่มแผ่ให้ตนเองก่อน เพราะทุกคนรักตนเอง ไม่ต้องการให้ตนเองเป็นทุกข์ ผู้อื่นก็เช่นเดียวกัน ย่อมรักตนเอง รักสุขเกลียดทุกข์เหมือนกัน การที่ต้องแผ่เมตตาให้กับตนเองก่อนก็เพื่อให้ตนเองเป็นพยานก่อนว่าเราก็รักตนเอง เกลียดความทุกข์ บุคคลอื่นๆ ก็รักสุขเกลียดทุกข์เช่นเดียวกันกับตนเอง

พิจารณาเป็นภาษาไทยว่า :- บุคคลผู้เจริญเมตตาเมื่อเอาจิตใจค้นคว้าพิจารณาไปทั่วทิศ ย่อมไม่เห็นใครเป็นที่รักยิ่งกว่าตน ในที่ใดๆ ก็ตาม ตนนั้นแหละเป็นที่รักอย่างมาก คนอื่นก็เช่นกัน ฉะนั้น ผู้ที่รักตนไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น (แม้กระทั่งมดปลวก) นอกจากนี้การแผ่เมตตาให้ตนเองเสมอๆ จะนึกเปรียบเทียบความรู้สึก รักสุขเกลียดทุกข์ของตนเอง กับความรู้สึกของผู้อื่นว่าไม่แตกต่างกัน ทำให้เมตตาจิตเกิดขึ้นได้ง่าย และตั้งอยู่มั่นคง

คำบริกรรมในการแผ่เมตตาภานาให้แก่ตนเอง
อหัง อเวโร โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีศัตรูภายในและภายนอกเถิ
อหัง อัพพยาปัชโฌ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีความวิตกกังวล เศร้าโศก พยาบาทเถิด
อหัง อนีโฆ โหมิ ข อให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีความลำบากกายลำบากใจ พ้นจากอุปัทวภัยเถิด
อหัง สุขี อัตตานัง ปริหรามิ ข อให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้มีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

เมื่อแผ่เมตตาให้แก่ตนเองแล้ว ก็แผ่ให้บุคคลอื่น คือผู้ที่เป็นที่รัก เช่น บิดา มารดา เป็นต้น ต่อไป

๒. แผ่เมตตาภาวนาให้กับบุคคลอื่น
    ๒.๑ แผ่เมตตาภาวนาให้กับบุคคลอื่น โดยเจาะจงเพียงคนเดียว
อเวโร โหตุ ขอให้บิดา (หรือมารดาฯลฯคนใดคนหนึ่ง) จงเป็นผู้ไม่มีศัตรูภายในและภายนอกเถิด
อัพพยาปัชโฌ โหตุ ขอให้บิดา (หรือมารดาฯลฯคนใดคนหนึ่ง) จงเป็นผู้ไม่มีความวิตกกังวล เศร้าโศก พยาบาทเถิด
อนีโฆ โหตุ ขอให้บิดา (หรือมารดาฯลฯคนใดคนหนึ่ง) จงเป็นผู้ไม่มีความลำบากกาย ลำบากใจ พ้นจากอุปัทวภัยเถิด
สุขี อัตตานัง ปริหรตุ ขอให้บิดา (หรือมารดาฯลฯคนใดคนหนึ่ง) จงนำอัตภาพที่เป็นอยู่ด้วยความสุขกาย สุขใจ ตลอดกาลนานเถิด
    ๒.๒ แผ่เมตตาภาวนาให้กับบุคคลอื่น โดยไม่เจาะจงตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป
อเวรา โหนตุ ขอให้ท่านจงเป็นผู้ไม่มีศัตรูภายในและภายนอกเถิด
อัพพยาปัชฌา โหนตุ ขอให้ท่านจงเป็นผู้ไม่มีความวิตกกังวล เศร้าโศก พยาบาทเถิด
อนีฆา โหนตุ ขอให้ท่านจงเป็นผู้ไม่มีความลำบากกาย ลำบากใจ พ้นจากอุปัทวภัยเถิด
สุขี อัตตานัง ปริหรันตุ ขอให้ท่านจงนำอัตภาพที่เป็นอยู่ด้วยความสุขกาย สุขใจ ตลอดกาลนานทั่วกัน

๓. แผ่เมตตาภาวนาไปในบุคคลอื่นตามลำดับ
หลังจากแผ่เมตตาภาวนาให้กับตนเองแล้ว จึงแผ่เมตตาภาวนาไปในบุคคลอื่นๆไปตามล้าดับ คือ ผู้ที่กำลังรู้จักกัน กำลังชอบพอกัน กำลังทำงานร่วมกัน กำลังอยู่ด้วยกัน จากนั้นก็แผ่ไปในบุคคลที่เคยรู้จักกัน เคยชอบพอกัน เคยทำงานร่วมกัน เคยอยู่ด้วยกัน เคยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เมื่อเดือนที่แล้ว ปีที่แล้ว ตลอดจนถึง ๑๐ ปี ๑๕ ปี ตามแต่จะนึกได้ จนกระทั่งสัตว์ดิรัจฉานก็ไม่เว้น ถ้าแผ่ไปในคนหนึ่งๆ ก็ใช้คำที่เป็นเอกพจน์ มี อเวโร โหตุ เป็นต้น ถ้าตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปก็ใช้คำที่เป็นพหูพจน์ มี อเวรา โหนตุ เป็นต้น

จากนั้นก็แผ่กลับมาหาคนที่กำลังรู้จักกัน กำลังชอบพอกัน ฯลฯ เสร็จแล้วก็แผ่ไปในบุคคลที่เคยรู้จักกันเป็นต้นอีก กลับไปกลับมาเรื่อยๆ ไป คล้ายกับการพิจารณา ๓๒ โกฏฐาส
    ๓.๑ การแผ่เมตตาไปในบุคคลอื่นที่ตนรู้จัก ชอบพอ ร่วมงานกัน อยู่ด้วยกัน แบ่งออกเป็น ๔ จำพวก คือ
        ๓.๑.๑ ปิยบุคคล คือ บุคคลอันเป็นที่รัก
        ๓.๑.๒ อติปิยบุคคล คือ บุคคลอันเป็นที่รักยิ่ง
        ๓.๑.๓ มัชฌัตตบุคคล คือ บุคคลกลางๆ
        ๓.๑.๔ เวรีบุคคล คือ บุคคลที่เป็นศัตรู

บุคคลอื่นทั้ง ๔ จ้าพวกนี้ ต้องแผ่ไปตามลำดับ คือแผ่แก่ปิยบุคคลก่อน ถัดไปก็เป็นอติปิยบุคคล มัชฌัตตบุคคล ส่วนเวรีบุคคลต้องแผ่เป็นลำดับสุดท้าย เพราะขณะที่ทำการแผ่ไปในเวรีบุคคลอยู่นั้นโทสะมักจะเกิดง่าย แต่เมตตาเกิดยาก ฉะนั้นผู้ปฏิบัติจึงต้องหาทางทำการอบรมจิตใจให้ดี โดยคำนึงถึงว่าการที่จะไปสู่อบายภูมินั้น หาใช่ไปด้วยอำนาจของเวรีบุคคลไม่ หากแต่ไปด้วยอำนาจโทสะของตน ฉะนั้น เมื่อจะค้นหาศัตรูที่แท้จริงแล้ว ก็ได้แก่โทสะของตนเองที่เป็นศัตรูตัวจริง ส่วนเวรีบุคคลกลับไม่ใช่ศัตรูตัวจริง แล้วพยายามอบรมจิตใจตนตาม อุบายวิธี ๑๒ อย่าง สำหรับกำจัดความโกรธที่ได้แสดงไว้แล้ว

เมื่อผู้เจริญเมตตาภาวนาได้พยายามพิจารณาตามวิธีต่างๆ ที่จะให้เมตตาเกิดต่อเวรีบุคคล แต่เมตตาก็ไม่เกิด มีแต่โทสะเกิดขึ้นอันเป็นศัตรูของการที่จะได้ฌาน ถ้าเป็นเช่นนี้ก็จงหยุดแผ่ไปในเวรีบุคคลนี้เสีย แล้วให้วางใจเป็นอุเบกขาต่อเวรีบุคคล โดยคิดเสียว่าบุคคลนี้ไม่ได้อยู่ในโลกนี้ แล้วพร้อมกับปลีกตัวไป อย่าให้ได้พบเห็น ทำการแผ่ต่อไปแต่ในปิยบุคคลและมัชฌัตตบุคคลทั่วไป จนกระทั่งเมตตาเกิดต่อบุคคล ๒ จำพวกนี้ทั่วไปเสมอเท่ากันกับตน สำหรับอติปิยบุคคลก็สงเคราะห์เข้าในปิยบุคคลนั่นเอง

การที่ต้องพยายามแผ่เมตตาไปในเวรีบุคคลโดยวิธีพิจารณาต่างๆ นั้น ก็เพื่อประสงค์จะให้เมตตาของตนเข้าถึงขั้น สีมสัมเภท (สี-มะ-สัม-เภท) หมายความว่า ทำลายขอบเขตของเมตตา ให้มีการเสมอกันไปในบุคคลทุกจำพวก ทำให้เป็นผู้มีเมตตาจิตชนิดที่มีอย่างสม่ำเสมอทั่วไป ไม่มีอุปสรรคใดๆมาขัดขวาง จึงทำให้ได้ฌานเร็วและตั้งมั่นไม่เสื่อมคลาย

ลักษณะสีมสัมเภท
สมมุติว่าผู้ปฏิบัติทำการเจริญเมตตากำลังนั่งอยู่พร้อมกัน คือ
๑.ปิยบุคคล .
๒. มัชฌัตตบุคคล
๓.
เวรีบุคคล
๔. ตนเอง
ถ้ามีโจรมาบังคับว่า เราต้องการคนๆ หนึ่งในจำนวน ๔ คนนี้ เพื่อจะนำไปฆ่า ท่านจะ
ให้เราจับคนไหน เมื่อผู้ปฏิบัติได้ประสบเหตุที่คับขันเช่นนี้ ถ้ามีจิตคิดเอนเอียงให้โจรจับคนที่เป็นศัตรู หรือคนที่ไม่รัก ไม่ชัง หรือ คนที่รัก ไปคนใดคนหนึ่ง ถ้าเป็นอย่างนี้ ก็จัดว่า ยังไม่สำเร็จสีมสัมเภท หรือ ยังไม่มีเมตตาชนิดที่ไม่มีเขตแดนใดๆ ถึงแม้ว่าจะคิดว่าให้ ๓ บุคคลนั้นพ้นอันตราย ส่วนตนเองนี้ยอมรับเคราะห์แทนก็ตาม ก็ยังไม่นับว่าสำเร็จในสีมสัมเภทอยู่นั่นเอง เพราะเป็นเมตตายังมีขอบเขต แต่เมื่อผู้ปฏิบัติมีจิตเสมอภาคทั่วไปในระหว่างคนทั้ง ๓ และในตนเองได้ คือชี้ลงไปไม่ได้ว่าจะให้โจรจับใครไปฆ่า อย่างนี้ก็จัดว่าสำเร็จในสีมสัมเภทแล้ว

การแผ่เมตตาโดยนัยที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นไปในบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับจิตใจของตนโดยตรง ทำให้เมตตาเกิดขึ้นได้ง่าย แต่เป็นการยากลำบากสำหรับผู้ทำการแผ่ เพราะวิธีแผ่แบบนี้มิใช่แบบบริกรรมท่องจำ แต่จะต้องระลึกถึงให้เห็นด้วยใจของตนแล้วจึงจะแผ่ไป ดังนั้นจิตใจผู้แผ่จะต้องประกอบด้วยศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา อย่างมั่นคง จึงจะทำการแผ่ตามหลักนี้ได้ อย่างไรก็ตามผู้เจริญเมตตาจะต้องทำการแผ่ตามหลักนี้ก่อน จนกว่าจะได้สำเร็จเป็นสีมสัมเภท จากนั้นจึงจะใช้วิธีแผ่ตามแบบบริกรรมท่องจำ แผ่ไปโดยส่วนรวม

ขั้นตอนการปฏิบัติเมตตาอัปปมัญญา หลังจากสำเร็จสีมสัมเภทแล้ว
๑. แผ่ไปตามอาการแห่งเมตตา มี ๔ อย่าง คือ
อเวรา โหนตุ ขอให้ท่านจงเป็นผู้ไม่มีศัตรูภายในและภายนอกเถิด
อัพพยาปัชฌา โหนตุ ขอให้ท่านจงเป็นผู้ไม่มีความวิตกกังวล เศร้าโศก พยาบาทเถิด
อนีฆา โหนตุ ขอให้ท่านจงเป็นผู้ไม่มีความลำบากกาย ลำบากใจ พ้นจากอุปัทวภัยเถิด
สุขี อัตตานัง ปริหรันตุ ขอให้ท่านจงนำอัตภาพที่เป็นอยู่ด้วยความสุขกาย สุขใจ ตลอดกาลนานทั่วกัน
๒. แผ่ไปในบุคคลมี ๑๒ จำพวก คือ
ก. แผ่ไปในบุคคลทั่วไปแบบไม่เจาะจง (อโนทิสบุคคล) มี ๕ จำพวก คือ
๑. สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
๒. สัพเพ ปาณา สัตว์ที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวง
๓. สัพเพ ภูตา สัตว์ที่ปรากฏชัดทั้งหลายทั้งปวง
๔. สัพเพ ปุคคลา บุคคลทั้งหลายทั้งปวง
๕. สัพเพ อัตตภาวปริยาปันนา สัตว์ที่มีอัตภาพทั้งหลายทั้งปวง

ข. แผ่แบบเจาะจงบุคคล (โอทิสบุคคล) มี ๗ จำพวก คือ
๑. สัพพา อิตถิโย หญิงทั้งหลายทั้งปวง
๒. สัพเพ ปุริสา ชายทั้งหลายทั้งปวง
๓. สัพเพ อริยา พระอริยบุคคลทั้งหลายทั้งปวง
๔. สัพเพ อนริยา ปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง
๕. สัพเพ เทวา เทวดาทั้งหลายทั้งปวง
๖. สัพเพ มนุสสา มนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง
๗. สัพเพ วินิปาติกา พวกวินิปาติกอสุราทั้งหลายทั้งปวง

๓. แผ่ไปในทิศทั้ง ๑๐ ทิศ คือ
๑. ทิศตะวันออก ๖. ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
๒. ทิศตะวันตก ๗. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
๓. ทิศเหนือ
๔. ทิศใต้
๕. ทิศตะวันออกเฉียงใต้
๖. ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
๗. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

๘. ทิศตะวันตกเฉียงใต้
๙. ทิศเบื้องล่าง
๑๐. ทิศเบื้องบน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น