วันอาทิตย์

๔.๓ รูปาวจรกุศลกรรม

รูปาวจรกุศลกรรม เป็นการเจริญกุศลในขั้นสูง คือ การเจริญฌาน ฌานนั้นให้ความสงบสุขอันเป็นความสุขที่ประณีตกว่ากุศลขั้น ทาน ศีล ฯลฯ ที่ได้ศึกษาผ่านมาแล้ว รูปาวจรกุศลกรรมเป็นการเจริญสมถกรรมฐาน มีกสิณ ๑๐ เป็นต้น โดยการกำหนดจิตให้แนบแน่นอยู่กับอารมณ์เดียว บุคคลเมื่อกำหนดจิตได้แนบแน่นอยู่กับอารมณ์เดียวได้ ทำให้สมาธิตั้งมั่น กำลังของสมาธิที่ตั้งมั่นและมากขึ้นๆ ตามลำดับ จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการเจริญรูปฌาน

ผลสำเร็จของการเจริญรูปฌาน มี ๕ ขั้น คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน และ ปัญจมฌาน ซึ่งแต่ละขั้นจะมีองค์ฌานประกอบดังนี้

ฌานที่ ๑ เรียกว่า ปฐมฌานกุศล มีองค์ฌาน ๕ คือ
วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ฌานที่ ๒ 
เรียกว่า ทุติยฌานกุศล มีองค์ฌาน ๔ คือ
วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ฌานที่ ๓ 
เรียกว่า ตติยฌานกุศล มีองค์ฌาน ๓ คือ
ปีติ สุข เอกัคคตา
ฌานที่ ๔ 
เรียกว่า จตุตถฌานกุศล มีองค์ฌาน ๒ คือ
สุข เอกัคคตา
ฌานที่ ๕ 
เรียกว่า ปัญจมฌานกุศล มีองค์ฌาน ๒ คือ
อุเบกขา เอกัคคตา
ผลของรูปาวจรกุศลกรรม

ผู้ที่เจริญรูปฌานจนสำเร็จในแต่ละขั้นแล้วถ้าฌานยังไม่เสื่อม เมื่อตาย จากภพนี้ กำลังแห่งฌานกุศลนั้นจะส่งผลเป็นวิปากนำเกิดในรูปพรหม 
ฌานที่ ๑ ปฐมฌานกุศล จะนำเกิดในปฐมฌานภูมิ ๓ คือ ปาริสัชชา ปุ โรหิตา มหาพรหมมา ตามกำลังของฌานที่ได้ คือ มีกำลังอ่อน ปานกลาง แก่กล้า พรหมปาริสัชชา มีอายุ ๑/๓ มหากัปป์ พรหมปุโรหิตา อายุ ๑/๒ มหากัปป์ และ มหาพรหมมา มีอายุ ๑ มหากัปป์
ฌานที่ ๒ ทุติยฌานกุศล และ ฌานที่ ๓ รูปาวจรตติยฌานกุศลจิต จะนำเกิดในทุติยฌานภูมิ ๓ คือ ปริตตาภา อัปปมานาภา อาภัสรา ตามกำลังของฌานที่ได้ คือ มีกำลังอ่อน ปานกลาง แก่กล้า เป็นพรหมที่มีอายุยาวนาน ๒ มหากัปป์ ๔ มหากัปป์ และ ๘ มหากัปป์ ตามลำดับ
ฌานที่ ๔ จตุตถฌานกุศล จะนำเกิดในตติยฌานภูมิ ๓ คือ ปริตตสุภา อัปปมานสุภา สุภกิณหา ตามกำลังของฌานที่ได้ คือ มีกำลังอ่อน ปานกลาง แก่กล้า เป็นพรหมที่มีอายุยาวนาน ๑๖ มหากัปป์ ๓๒ มหากัปป์ และ ๖๔ มหากัปป์ ตามลำดับ
ฌานที่ ๕ ปัญจมฌานกุศล จะนำเกิดในจตุตถฌานภูมิ ๗ แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม
กลุ่มที่ ๑ นำเกิดใน เวหัปผลา อสัญญสัตตา เป็นพรหมที่มีอายุ ยาวนาน ๕๐๐ มหากัปป์
กลุ่มที่ ๒ นำเกิดใน สุทธาวาส ๕ คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และอกนิฏฐา เป็นภูมิสำหรับพระอนาคามีที่ได้ฌานด้วยและมีอินทรีย์อย่างใดอย่างหนึ่งแก่กล้า ด้วยความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ตามลำดับ พระอนาคามีที่แก่กล้าด้วยสัทธินทรีย์ จะเกิดในอวิหาภูมิ มี อายุ ๑ ,๐๐๐ มหากัปป์ พระอนาคามีที่แก่กล้าด้วยวิริยินทรีย์ จะเกิดในอตัปปาภูมิ มี อายุ ๒ ,๐๐๐ มหากัปป์ พระอนาคามีที่แก่กล้าด้วยสตินทรีย์ จะเกิดในสุทัสสาภูมิ มีอายุ ๔ ,๐๐๐ มหากัปป์ พระอนาคามีที่แก่กล้าด้วยสมาธินทรีย์ จะเกิดในสุทัสสีภูมิ มี อายุ ๘ ,๐๐๐ มหากัปป์ พระอนาคามีที่แก่กล้าด้วยปัญญินทรีย์ จะเกิดในอกนิฏฐาภูมิ มีอายุ ๑๖,๐๐๐ มหากัปป์

ทิพยสมบัติของพรหม
ผู้ที่ไปเกิดเป็นรูปพรหมด้วยอำนาจของฌานที่ตนได้ จะเสวยทิพย
สมบัติแห่งความเป็นพรหม มีอายุยืนยาวนานเป็นมหากัปป์ มีวิมาน มีสวนดอกไม้ มีสระโบกขรณี และเครื่องทรงอลงกรณ์ต่างๆ สวยสดงดงามประณีต และมีความสวยสดงดงามกว่าทิพยสมบัติของเทวดาทั้งหลาย เมื่อเกิดเป็นพรหมในรูปพรหม ๑๖ ชั้นดังกล่าวแล้ว ก็หาพอใจในฌานหรือในทิพยสมบัติของตนที่มีอยู่ไม่ ต้องการหาความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้น โดยการเจริญอรูปาวจรกุศลต่อไปอีก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น